วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563

Recorded Diary 3



Recorded Diary 3


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563
เวลา 08:30 - 12:30 น.


 เพียเจต์ได้แบ่งลำดับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาไว้ ขั้นดังนี้

                1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Stage) แรกเกิด - 
ปี 
ขั้นนี้เป็นขั้นของการเรียนรู้จากประสาทสัมผัส ในขั้นนี้พัฒนาการจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาการเรียนรู้ การแก้ปัญหา มีการจัดระเบียบการกระทำ มีการคิดก่อนที่จะทำ การกระทำจะทำอย่างมีจุดมุ่งหมายด้วยความอยากรู้อยากเห็น และเด็กยังสามารถเลียนแบบ โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวแบบให้เห็นในขณะนั้นได้ ซึ่งแสดงถึงพัฒนาการด้านความจำที่เพิ่มมากขึ้นในช่วง 18-24 เดือน

                 2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)    2-7 ปี 
2-4 ปี เด็กยังยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง มีขีดจำกัดในการรับรู้ สามารถเข้าใจได้เพียงมิติเดียว
5-6 ปี เด็กจะย่างเข้าสู่ขั้น Intuitive Thought ระยะนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการคิด ที่ขึ้นอยู่กับการรับรู้กับการคิดอย่างมีเหตุผลตามความจริง 

                  3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยรูปธรรม (Concrete Operational Stage)  7-11 ปี 
เด็กจะมีความสามารถคิดเหตุผลและผลที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ยึดอยู่เฉพาะการรับรู้เหมือนขั้นก่อน ๆ ในขั้นนี้เด็กจะสามารถคิดย้อนกลับ (Reversibility) สามารถเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์ (Conservation) สามารถจัดกลุ่มหรือประเภทของสิ่งของ (Classification) และสามารถจัดเรียงลำดับของสิ่งต่าง ๆ (Seriation) 

                 4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) ตั้งแต่อายุ 11 ปี 
เป็นช่วงที่เด็กจะสามารถคิดไม่เพียงแต่ในสิ่งที่เห็นหรือได้ยินโดยตรงเหมือนระยะก่อน ๆ อีกต่อไป แต่จะสามารถจินตนาการเงื่อนไขของปัญหาในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยพัฒนาสมมติฐานอย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งก็หมายถึงว่า ในระยะนี้เด็กจะมีความสามารถคิดหาเหตุผลเหมือนผู้ใหญ่นั่นเอง 


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

1. science  วิทยาศาสตร์
2. test การทดลอง
3. Planetarium  ท้องฟ้าจำลอง
4. Group กลุ่ม
5. doing work  การทำงาน


ประเมิน
ประเมินอาจารย์ : พูดเกี่ยวกับทฤษฎีและพัฒนา ได้อย่างละเอียด อธิบายเข้าใจง่าย
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจฟังและตอบคำถามอาจารย์เมื่ออาจารย์ถาม
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์บอกและช่วยตอบคำถามกับเพื่อนๆ

1 ความคิดเห็น: